หลังจากที่ทาง ธนาคารไทยพาณิชย์ได้โดนไปกับกรณี SMS ปลอม ที่ทำการหลอกขโมยข้อมูลลูกค้า ในคราวนี้ก็ทีของ ธนาคาร กรุงศรี ที่เจอกับภัยนี้ ทั้งนี้แล้วได้มีการเตือนเพื่อป้องกันเป็นที่เรียบร้อย หลังจากที่มีกรณีของการ SMS Phishing หรือ SMS ปลอม เพื่อทำการขโมยข้อมูลส่วนตัว ซึ่งทางธนาคารไทยพาณิชย์ก็ได้ประสบไป โดยมีผู้เสียหายราว 200 ราย และมีมูลค่าความเสียหายประมาณ 30 ล้านบาท มาในคราวนี้นั้นทาง ธนาคาร กรุงศรี หรือ กรุงศรีอยุธยา ได้จึงได้ทำการเตือนบรรดาลูกค้าทั้งหลายถึงภัยดังกล่าว
โดยทางธนาคารกรุงศรี ได้ออกมาชี้แจงถึงตัว Domain ของธนาคารนั้น
จะมีการใช้งานเพียงแค่ในตัว krungsri.com และ krungsrionline.com เท่านั้น หากพบว่ามีการใช้งานภายในรูปอื่น หรือที่แตกต่างไปจากนี้นั้น ถือว่าเป็น Domain ปลอม และนอกจากนี้นั้นในด้านท้ายของ Domain นั้น จะต้องมีสัญลักษณ์รูปตัวกุญแจอยู่ด้วย
อีกทั้งทางธนาคารก็ไม่ได้มีนโยบาย ในการขอข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าผ่านช่องทาง SMS, Line และ Facebook แต่อย่างใด หากมีการติดต่อเข้ามาผ่านช่องทางดังกล่าวขอให้มีความระมัดระวัง และติดต่อทางธนาคารในช่องทางที่เหมาะสม
ภัย SMS Phishing นั้น เป็นการทำการหลอกเอาข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ ผ่านช่องทางหน้าเว็บไซต์ หรือหน้า Domain ปลอม โดยหน้า Domain ปลอมนั้นจะมีช่องให้กรอกข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญในการทำธุรกรรม หรือกิจกรรมอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น รหัสผ่าน, รหัส OTP, เลขบัตรประจำตัวประชาชน และอื่น ๆ ซึ่งสามารถหลีกเลี่ยงได้โดยการดูในชื่อ Domain ว่ามีความผิดแปลกหรือไม่ และติดต่อสอบถามกับช่องทางติดต่อหลักของธนาคารที่ใช้บริการ
นอกจากชำระผ่าน ธ.ก.ส. สาขาทั่วประเทศแล้ว ธนาคารได้พัฒนาช่องทางการชำระเงิน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าที่ใช้บริการ สินเชื่อ ฉุกเฉินผ่าน เคาน์เตอร์เซอร์วิส ใน 7-Eleven โดยลูกค้าสามารถแสดงเอกสารใบแจ้งเตือนที่ส่งมาพร้อม SMS ต่อพนักงานผู้ให้บริการ ค่าธรรมเนียม 10 บาท และช่องทางผ่านแอปพลิเคชัน ธ.ก.ส. : A-Mobile โดยสแกน QR Code ที่อยู่ในใบแจ้งเตือน ระหว่างเวลา 00.30 ถึง 21.00 น. ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ ซึ่งสามารถใช้บริการข้างต้นได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Call Center 02 555 0555
การเสวนาในหัวข้อ “พื้นที่ชุ่มน้ำ สายน้ำ กับวิถีชุมชนเมือง” จากผู้มีความรู้และประสบการทำงานด้านพื้นที่ชุ่มน้ำ ประกอบด้วย ผศ.ดร.กอบศักดิ์ วันธงไชย คณบดีคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดร.วิเทศ ศรีเนตร ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบนิเวศและการมีส่วนร่วม ดร.กชกร วรอาคม ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและวางผังพื้นที่สีเขียว นายศุภศิษฏ์ จงชีวีวัฒน์ นักแสดงและประธานกรรมการบริหาร บริษัท มิวศุภศิษฏ์ สตูดิโอ จำกัด และ ดร.เพชร มโนปวิตร นักวิชาการอิสระ รวมทั้งนำเสนอสื่อคุณค่าและความสำคัญของพื้นที่ชุ่มน้ำกับวิถีชีวิตชุมชน
ลดเงินสมทบประกันสังคม 3 เดือน ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนโควิดระลอกใหม่
ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แถลงผลการประชุม วันที่ 22 ธันวาคม 2563 ในส่วนของการส่งเงินสมทบประกันสังคมว่า ครม.อนุมัติร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ เป็นการปรับลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ระยะเวลา 3 เดือน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกันตนและนายจ้างที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ มีสาระสำคัญดังนี้
1.ลดอัตราเงินสมทบฝ่ายนายจ้างและฝ่ายผู้ประกันตน ตามมาตรา 33 จากเดิมร้อยละ 5 ลดเหลือร้อยละ 3
สำหรับฝ่ายรัฐบาลส่งเงินสมทบอัตราเดิม คือร้อยละ 2.75 ส่วนผู้ประกันตนมาตรา 39 ให้ปรับลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม จากเดิมเดือนละ 432 บาท เหลือเดือนละ 278 บาท เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2564
2.ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2564 ให้รัฐบาล นายจ้างและผู้ประกันตน ตามมาตรา 33 ออกเงินสมทบเข้ากองทุนเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย และกรณีคลอดบุตร ฝ่ายละร้อยละ 1.05 -การจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร และกรณีชราภาพ ในส่วนของนายจ้างและผู้ประกันตน ฝ่ายละร้อยละ 1.85 และรัฐบาลปรับเป็นร้อยละ 1.45 -การจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน ในส่วนของนายจ้างและผู้ประกันตน ฝ่ายละร้อยละ 0.1 และรัฐบาลปรับเป็นร้อยละ 0.25
3.ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2560 เป็นต้นไป ให้รัฐบาล นายจ้างและผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ออกเงินสมทบเข้ากองทุนเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย และกรณีคลอดบุตร ฝ่ายละร้อยละ 1.5 -การจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร และกรณีชราภาพ ในส่วนของนายจ้างและผู้ประกันตนฝ่ายละร้อยละ 3 และรัฐบาล ร้อยละ 1 -การจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน ในส่วนของนายจ้างและผู้ประกันตน ฝ่ายละร้อยละ 0.5 และรัฐบาลร้อยละ 0.25
การลดอัตราเงินสมทบจะส่งผลดีต่อผู้ประกันตนและนายจ้าง ช่วยให้ผู้ประกันตนสามารถนำเงินไปใช้จ่ายเสริมสถาพคล่อง ประมาณคนละ 460 – 900 บาท เป็นเวลา 3 เดือน คิดเป็นมูลค่ารวม 8,248 ล้านบาท สำหรับนายจ้าง จะทำให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบลดลง รวม 7,412 ล้านบาท ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายและช่วยรักษาการจ้างงานต่อไปได้
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป